เสียงดังมากที่รบกวนเป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียการได้ยิน แต่คุณสามารถป้องกันการได้ยินของคุณได้ ขั้นตอนแรกที่สำคัญคือการทำความเข้าใจว่าเสียงรบกวนทำให้สูญเสียการได้ยินอย่างไร
เสียงดังอาจทำให้สูญเสียการได้ยินอย่างรวดเร็วหรือเมื่อเวลาผ่านไป การสูญเสียการได้ยินอาจเป็นผลมาจากเสียงดังเพียงครั้งเดียว (เช่น เสียงประทัด) ใกล้หูของคุณ หรือบ่อยกว่านั้น
การสูญเสียการได้ยินอาจส่งผลเมื่อเวลาผ่านไปจากความเสียหายที่เกิดจากการเปิดรับเสียงดังซ้ำๆ ยิ่งเสียงดังมากเท่าใด ระยะเวลาที่สูญเสียการได้ยินก็จะยิ่งสั้นลงเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไม่ได้ใช้อุปกรณ์ป้องกันการได้ยิน
เดซิเบล (Decibel)
เดซิเบลคือหน่วยที่ใช้ในการวัดเสียง และค่าต่ำสุดที่มนุษย์ได้ยินคือ 0 เดซิเบล ระดับ 20 dB ถือว่าดังกว่าระดับเสียงพื้นฐานที่ 0 dB ถึง 100 เท่า ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ระบุว่าระดับใด ๆ ที่สูงกว่า 85 เดซิเบลเป็นอันตรายต่อการได้ยินของมนุษย์
ระดับความดัง | แหล่งกำเนิดเสียง |
---|---|
140dBA | เสียงเครื่องบินเจท |
120dBA | รู้สึกไม่สบายในการได้ยิน |
110dBA | รถจักรยานยนต์ |
100dBA | เสียงที่เกิดจากสว่านลม |
90dBA | การจราจรรถไฟใต้ดิน |
80dBA | คนตะโกน |
74dBA | รถวิ่งผ่าน |
60dBA | สนทนาอย่างเงียบๆ |
50dBA | ครัวเรือนทั่วไป |
40dBA | ห้องสมุด |
30dBA | กระซิบ |
20dBA | ใบไม้ทำให้เกิดเสียงกรอบแกรบ |
0dBA | เกณฑ์การได้ยิน |
กฎหมายเสียงดังกี่เดซิเบล
ในประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับเช่นในที่พักอาศัย ในโรงงานอุตสาหกรรมและเสียงดังจากการจราจร มีข้อกฎหมายที่แตกต่างกันไป ระดับหรือขีดจำกัดของเสียงที่อนุญาตมักถูกกำหนดโดยข้อบังคับของประเทศ
เสียงดังในที่พักอาศัย
1 ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2540) เรื่อง กําหนด มาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป ออกโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 32(5) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535
ข้อ 2 ให้กําหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป ไว้ดังต่อไปนี้
- ค่าระดับเสียงสูงสุด ไม่เกิน 115 เดซิเบลเอ dB (A)
- ค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 70 เดซิเบลเอ dB (A)
เสียงดังในการทำงาน
กรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดมาตรฐานของระดับเสียงในสถานประกอบการต่าง ๆ ไว้ดังนี้คือ
- ได้รับเสียงไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงติดต่อกันไม่เกิน 91 dB(A)
- ได้รับเสียงวันละ 7-8 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียง ติดต่อกันไม่เกิน 90 dB(A)
- ได้รับเสียงเกินวันละ 8 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียง ติดต่อกันไม่เกิน 80 dB(A)
- นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่ ๆ มีระดับเสียงเกิน 140 dB(A) ไม่ได้
เสียงดังจากการจราจร
1.พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2531) เรื่องกำหนดรายละเอียดการตรวจสภาพรถยนต์ที่จะจดทะเบียนได้ ว่าต้องผ่านการตรวจระบบการกรองเสียงด้วย
2.พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มีบทบัญญัติที่ว่าด้วยการห้ามมิให้นำรถที่มีเสียงดังซึ่งอาจทำให้ประชาชนทั่วไปเดือดร้อนรำคาญมาใช้ในทางเดินรถ นอกจากนั้นยังมีการประกาศกำหนดเกณฑ์เสียงที่เกิดจากเครื่องยนต์ของรถยนต์อีกด้วย
ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก กำหนดให้แตรรถยนต์และรถจักรยานยนต์ต้องเมีเสียงดังไกลเกินระยะ 60 เมตร หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท และ มาตรา 14 การบีบแตรควรใช้เมื่อจำเป็นหรือใช้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุเท่านั้น ไม่ควรบีบยยาว ๆ หรือบีบซ้ำเกินจำเป็นหากฝ่าฝืนมีโทษปรับ 500 บาท
3.พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มีบทบัญญัติว่าด้วยการกำหนดสภาพ เครื่องอุปกรณ์ และส่วนควบของรถ เช่น มีเครื่องระงับเสียง มีเครื่องยนต์และเสียงแตรที่ไม่ทำให้เกิดเสียงเกินเกณฑ์ที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด
เครื่องวัดเดซิเบล (Decibel) รุ่นแนะนำ
สามารถวัดระดับเสียงโดยรอบเช่นระดับเสียงรอบโรงงาน โรงเรียน ที่อยู่อาศัย สำนักงาน โรงพยบาลและถนน ฯลฯ
- ย่านวัดที่ 30dBA~130dBA
- ความถูกต้อง ± 1.5 dB
- ความละเอียด 0.1dB
- IEC651 Type 2 and ANSI S1.4 Type 2