เรียนรู้และเข้าใจวิธีการใช้งาน เครื่องวัดพีเอข pH meter ข้อมูลเบื้่องต้นอย่างละเอียด

pH meter วิธีใช้

pH meter คือเครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่างหรือค่า pH ซึ่งเป็นพารามิเตอร์ที่มีประโยชน์ซึ่งใช้ในทุกอุตสาหกรรมสำหรับการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม งานในห้องปฏิบัติการ และงานด้านอื่นๆ อีกมากมาย มีขั้นตอนสำคัญที่ควรปฏิบัติตามเพื่อให้แน่ใจว่าการวัดโดยใช้เครื่องวัดอย่างถูกต้องและความแม่นยำ

เครื่องวัดนี้ใช้เพื่อวัดความเป็นกรด-ด่างของสารละลายโดยการเปรียบเทียบค่าที่อ่านได้จากอิเล็กโทรดอ้างอิงและอิเล็กโทรดตัวอย่าง ในการวัดค่าเอาต์พุตของอิเล็กโทรดเหล่านี้ในหน่วยเป็นมิลลโวลท์ (mV) และเครื่องวัดจะทำการแปลงเป็นค่าพีเอช

โดยทั่วไปแล้วเครื่องวัดค่า pH จำเป็นต้องมีการสอบเทียบบ่อยครั้งในภาคสนาม และการสอบเทียบเป็นส่วนหนึ่งของการใช้งานนี้

การสอบเทียบ pH Meter

ขั้นตอนการสอบเทียบนี้ขึ้นอยู่กับรุ่นและแบรนด์ของสินค้า ขั้นตอนโดยละเอียดควรศึกษาจากคู่มือสินค้าในแต่ละรุ่น ในบทความนี้จะอธิบายขั้นตอนโดยทั่วไป

1.เตรียมน้ำยาพีเอชบัฟเฟอร์ ขึ้นอยู่กับรุ่นของเครื่องวัด โดยทั่วไปจะมีการสอบเทียบแบบ 1 2 และ 3 จุด กรณี สอบเทียบ 3 จุด ให้เตรียมน้ำยา pH buffer 4.01 7.01 และ 10.01

ph buffer

2.เปิดเครื่องวัดค่า pH ของคุณ และให้เวลาเพียงพอสำหรับการอุ่นเครื่อง โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที แต่ให้ตรวจสอบเวลาที่แน่นอนในคู่มือของเครื่องวัดของคุณ

3.กดปุ่ม CAL บนเครื่องวัดเพื่อโหมดการคาริเบท จากนั้นวางอิเล็กโทรดในบัฟเฟอร์ที่มีค่า pH 7.01 ปล่อยให้เครื่องวัดอ่านค่า pH ให้คงที่และปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1-2 นาที และกดปุ่ม Confirm (CFM)

4.ล้างหัววัดด้วยน้ำกลั่นเพื่อให้น้ำยา Buffer 7 ที่ยังค้างในหัววัดให้หมดไป จากนั้นนำหัววัดวางลงในน้ำยา Buffer 4.01 ปล่อยให้เครื่องวัดอ่านค่า pH ให้คงที่และปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1-2 นาที และกดปุ่ม Confirm (CFM)

5.ล้างหัววัดด้วยน้ำกลั่นเพื่อให้น้ำยา Buffer 4 ที่ยังค้างในหัววัดให้หมดไป จากนั้นนำหัววัดวางลงในน้ำยา Buffer 10.01 ปล่อยให้เครื่องวัดอ่านค่า pH ให้คงที่และปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1-2 นาที และกดปุ่ม Confirm (CFM)

วิดิโอตัวอย่างวิธีการสอบเทียบในวิดิโอเป็นรุ่น HI2002

หมายเหตุ

กระบวนการต่างๆ และขั้นตอนอาจแตกต่างกันไปในแต่ละแบรนด์และรุ่น ดังนั้นควรอ่านขั้นตอนในคู่มือสินค้าของคุณ

ขั้นตอนการใช้งาน pH meter

เราได้อธิบายกระบวนการคาริเบทก่อนการใช้งาน เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบว่า ก่อนการใช้งานเราควรแน่ใจว่าเครื่องมือของเรายังแม่นยำอยู่เสมอ

แต่ขั้นตอนการคาริเบทอาจจะไม่จำเป็น โดยคุณเพียงแค่จุ่มหัววัด pH electrode ลงในน้ำยาบัฟเฟอร์เพื่อการอ่านค่า หากค่าที่เครื่องอ่านได้ยังคงถูกต้องตามค่าน้ำยาบัฟเฟอร์ขันตอนนี้ก็ไม่จำเป็น

ต่อไปนี้เป็นขั้นตอนการใช้งาน

  1. หลังจากเปิดเครื่องวางอิเล็กโทรดของคุณในสารละลายหรือน้ำที่คุณต้องการวัด จากนั้นปล่อยอิเล็กโทรดไว้ในน้ำตัวอย่างของคุณประมาณ 1-2 นาที
  2. รอจนกระทั่งค่าที่อ่านได้เสถียรแล้ว (สังเกตุได้จากเครื่องวัดบางรุ่นจะมีสัญลักษณ์ของความเสรียร) แล้วค่าที่เครื่องวัดแสดงคือค่าที่ต้องการนี่คือระดับ pH ของตัวอย่างของคุณ
  3. ทำความสะอาดหัววัดหลังการใช้งาน ล้างอิเล็กโทรดของคุณด้วยน้ำกลั่นและซับหรือเช็ดให้แห้งด้วยทิชชู่ที่ไม่มีขน จากนั้นจัดเก็บหัววัดไว้ในน้ำยารักษาหัววัด KCL

อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้

แนะนำเครื่องมือหากคุณกำลังมองหาอุปกรณ์เครื่องวัด pH meter คุณภาพสูง ราคาถูก และ น้ำยา pH Buffer ที่มีความแม่นยำสูง

HI7004L

HI7004L น้ำยา pH บัฟเฟอร์ ค่า 4.01 ±0.01

ค่า 4.01 (ขนาด 500ml) มาตรฐาน NIST ราคาถูก จัดส่งทั่วไทย

  • pH Value @25°C: 4.01
  • Size: 500 mL
  • Certificate of Analysis by Lots
ดูรายละเอียด HI7004L
HI7007L

น้ำยามาตรฐาน pH HI7007L ค่า 7.01 ±0.01

HI7007L มาตรฐาน NIST มีใบรับรองการสอบเทียบ

  • pH Value @25°C: 7.01
  • Size: 500 mL
  • Certificate of Analysis by Lots
ดูรายละเอียด HI7007L
HI7010L

HI7010L น้ำยามาตรฐาน pH Buffer Solution ค่า 10.01 ±0.01

  • pH Value @25°C: 10.01
  • Size: 500 mL
  • Certificate of Analysis by Lots
ดูรายละเอียด HI7010L
HI70300L

HI70300L น้ำยาสำหรับเก็บรักษาหัววัด pH และ ORP

  • Electrode storage KCL solution
  • Size 500 mL
ดูรายละเอียด HI70300L

บทความน่าสนใจ

กรดด่างคืออะไร

กรดและด่างมีบทบาทสำคัญในชีวิตและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา หากคุณเคยชิมน้ำมะนาวหรือล้างมือด้วยสบู่ แสดงว่า[...]

เข้าใจหลักการทำงานของเครื่องวัด pH meter ข้อมูลเพื่อความเข้าใจ

เครื่องวัดค่า pH ใช้เพื่อวัดค่าความเป็นกรดหรือด่างของน้ำหรือสารละลาย โดยขออธิบายเพิ่มเติม ค่า pH คือ[...]

ค่า pH ของน้ำเลี้ยงปลา

เนื่องจากปลาล้วนต้องอาศัยน้ำในการหายใจ ให้อาหาร และเติบโต ขับถ่ายของเสีย รักษาสมดุลของเกลือ และสืบพั[...]

ค่า Slope (กราฟความชัน) ของเครื่องวัด pH meter คืออะไร

รู้จักค่า Slope ของพีเอชมิเตอร์คืออะไร ซึ่งเป็นค่าสำคัญในการประเมินประสิทธิภาพของหัววัด pH electrode[...]

เครื่องวัดค่า pH คืออะไร ทำความเข้าใจพื้นฐานการทำงาน

เครื่องวัดพีเอช (pH) คือเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่วัดการทำงานของไฮโดรเจน-ไอออนในสารละลายที่เป็นน้ำ [...]