ข้อควรระวังในการใช้ pH meter

ข้อควรระวังในการใช้ pH meter

pH meter เป็นอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ซึ่งมีความนิยมใช้งานในทุกที่ตั้งแต่ห้องปฏิบัติการจนถึงงานภาคสนาม แต่ผู้ใช้งานจำนวนมากไม่เห็นถึงความสำคัญของการบำรุงรักษา

ซึ่งหากไม่ดำเนินการอย่างถูกต้องจะส่งผลให้ได้ผลลัพธ์ที่ไม่แม่นยำหรือไม่น่าเชื่อถือ และทำให้อายุการใช้งานของเครื่องมือสั้นลง

ในบทความนี้บริษัท นีโอนิคส์ อธิบายขั้นตอนการบำรุงรักษาที่จะช่วยรับรองประสิทธิภาพการทำงานอย่างต่อเนื่องของเครื่องวัดของคุณ

ในบทความนี้ได้พยายามให้คำแนะนำที่มีค่าบางประการเกี่ยวกับการจัดการและการดูแลเครื่องวัดค่า pH ที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้คุณอ่านค่า pH ได้อย่างถูกต้องทุกครั้งที่ใช้งาน :

ข้อควรระวังที่สำคัญของ pH meter

1.ห้ามปล่อยให้หัววัดอิเล็กโทรด (pH electrode) แห้ง เป็นระยะเวลานาน ซึ่งจะทำให้การตอบสนองช้าลงและอาจนำไปสู่เสียหายที่ทำให้คุณต้องเสียเงินซื้อเครื่องวัดใหม่ ต้องจัดเก็บในน้ำยารักษาหัววัด KCL หลังจากการใช้งานเท่านั้น

เนื่องหัววัดพีเอชมีประจุไฟฟ้า (ไอออน) จำนวนมาก ซึ่งไอออนเหล่านี้ใช้ในการตรวจวัดค่ากรด-ด่าง การปล่อยให้หัววัดแห้งจะให้หัววัดสูญเสียไอออนจนไม่สามารถใช้งานได้อย่างถาวร

หัววัดแห้ง

2.ห้ามจัดเก็บหัววัด pH อิเล็กโทรดใน DI น้ำกลั่น น้ำปะปา ต้องจัดเก็บในน้ำยารักษาหัววัด KCL หลังจากการใช้งานเท่านั้น เหตุผลนั้นเหมือนกับข้อที่ 1 เพราะน้ำ DI น้ำกลั่นนั้นคือน้ำที่ไม่มีไอออน เมื่อเราแช่หัววัดในน้ำดังกล่าวจะทำให้หัววัดสูญเสียไอออนไป

จัดเก็บหัววัดในน้ำปะปา

3.ไม่ควรนำ pH meter ไปวัดในสารละลายที่ทำให้สูญเสียน้ำเช่นกรดซัลฟิวริกและเอทานอล เพราะจะทำให้หัววัดเสียหายได้ สารดังกล่าวจะดูดความชื้นจากหัววัดออกไป

4.หลีกเลี่ยงการสั่นสะเทือนและการกระแทก เมื่อใช้เครื่องกวนแม่เหล็ก เพื่อป้องกันไม่ให้หัววัดแตกเสียหายได้

5.ห้ามเช็ดหัววัดอิเล็กโทรดด้วยกระดาษทิชชู่ ผ้าขนสัตว์ หรือขัดถู เพราะจะทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตย์ ทำให้การวัดค่านั้นไม่ถูกต้อง กรณีที่หัววัดสกปรกให้ทำแช่ด้วยน้ำยา Cleaning โดยเฉพาะเป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที

การดูแลรักษาเพื่อการวัดที่แม่นยำยิ่งขึ้น

1.สอบเทียบอย่างสม่ำเสมอ

การสอบเทียบเครื่องวัดค่า pH เป็นประจำเป็นสิ่งสำคัญ ความถี่จะถูกกำหนดตามความถี่ที่คุณใช้อุปกรณ์ เครื่องวัดบางรุ่นจะมีการแจ้งเตือนให้คุณทราบเมื่อต้องสอบเทียบดูรายละเอียดเพิ่มเติมวิธีการ Calibrate ph meter

หากคุณใช้ทุกวัน คุณควรสอบเทียบทุกวัน หากคุณใช้งานสองสามครั้งต่อสัปดาห์ การปรับเทียบรายสัปดาห์จะเหมาะสม เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ให้ปรับเทียบมิเตอร์อย่างน้อยสองจุดก่อนใช้งานในแต่ละครั้ง

2.ทำความสะอาดหัววัด

การรักษาอิเล็กโทรดของคุณให้สะอาดเป็นวิธีง่ายๆ ในการยืดอายุการใช้งาน ให้แช่หัววัดในน้ำยาทำความสะอาดอิเล็กโทรดประมาณ 15-30 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำกลั่นให้สะอาด (ห้ามแช่ไว้เป็นเวลานาน)

และแนะนำว่าอย่าเช็ดด้วยกระดาษทิชชู่หรือผ้า เพราะอาจทำให้ไฟฟ้าสถิตย์ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่ออิเล็กโทรด ตรวจสอบคู่มือผู้ใช้ของคุณสำหรับข้อมูลเฉพาะของอุปกรณ์

3.จัดเก็บหัววัดด้วยน้ำยา KCL

เนื่องจากอิเล็กโทรด pH มีชั้นเจลไฮเดรต ซึ่งมีไอออนเป็นจำนวนมากเพื่ออำนวยความสะดวกให้สัญญาณไฟฟ้าที่จำเป็นในการรับรู้ค่า pH ที่อ่านได้ การจัดเก็บอิเล็กโทรด pH อย่างไม่ถูกต้องจะลดความไวในการวัดค่าลงอย่างมาก

4.การเปลี่ยนหัววัดอิเล็กโทรด

เราขอแนะนำให้คุณเปลี่ยนหัววัด pH อิเล็กโทรดทุก 12-24 เดือนทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งาน หัววัดพีเอชนี้ไม่สามารถใช้ได้ตลอดไปเป็นอุปกรณ์ที่ใช้แล้วมีอายุลดลงไปหรือเสื่อมลงตามระยะเวลา (เหมือนยางรถยนต์ที่จะต้องเปลี่ยนตามรอบการใช้งาน)

สรุป

การปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นจะช่วยยืดเวลาในการเปลี่ยนหัววัด pH อิเล็กโทรด สัญญาณบ่งชี้บางประการบอกว่าถึงเวลาต้องเปลี่ยนหัววัดแล้วมีดังนี้

  • ไม่สามารถสอบเทียบเครื่องวัดค่า pH ได้ (เครื่องวัดขึ้น Error)
  • อ่านค่าได้ไม่นิ่งเสถียรหรือการอ่านช้า

อุปกรณ์เสริมแนะนำ

HI70300L น้ำยาเก็บรักษาหัววัด pH และ ORP (KCL)

ใช้สำหรับจัดเก็บหัววัดเพื่อคงการทำงานและการอ่านค่าที่ถูกต้อง สามารถสร้างสภาพการทำงานที่เหมาะสมหลังจากใช้งานหรือเมื่อหัววัดไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน

  • Electrode storage solution
  • Size 500 mL
ดูรายละเอียด HI70300L
HI5522

เครื่องวัดพีเอชมิเตอร์คุณภาพสูง

  • ช่วงการวัด pH: -2.000 ถึง 16.000 pH (โหมดมาตรฐาน)
  • ความแม่นยำของ pH: ± 0.002 pH
  • ช่วงวัดอุณหภูมิ: -20.0 ถึง 120.0 ºC
  • ความแม่นยำ: ± 0.5 ° C
pH มิเตอร์ คุณภาพสูง

บทความที่แนะนำ

การวัดค่า pH ในผลิตภัณฑ์อาหาร: เทคนิคและอุปกรณ์ด้วยความแม่นยำ

ค่า pH เป็นการวัดที่สำคัญในวิทยาศาสตร์การอาหาร เนื่องจากส่งผลต่อความปลอดภัย คุณภาพ และอายุการเก็บรัก[...]

การสอบเทียบ (Calibration) เครื่องวัดกรด-ด่าง (pH meter)

การสอบเทียบเครื่องวัดค่า pH (การ Calibrate หรือสอบเทียบ) เป็นขั้นตอนที่จำเป็นเมื่อใช้เครื่องวัดค่า p[...]

ค่า pH ของน้ำเลี้ยงปลา

เนื่องจากปลาล้วนต้องอาศัยน้ำในการหายใจ ให้อาหาร และเติบโต ขับถ่ายของเสีย รักษาสมดุลของเกลือ และสืบพั[...]

pKa คืออะไร

pH คือการวัดความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออนในสารละลายที่เป็นน้ำ ในขณะที่ pKa (ค่าคงที่การแตกตัวของกรด) แ[...]

วัดค่า pH น้ำ

ทุกวันนี้เราสามารถทดสอบ pH ของน้ำที่บ้านได้ง่ายๆ การทดสอบค่า pH ของน้ำช่วยในการระบุว่าน้ำมีสภาพเป็นก[...]